วิธีดูแลฟันปลอมให้อยู่กับคุณได้นานขึ้น
การดูแลฟันปลอมให้ถูกต้องช่วยยืดอายุการใช้งานและรักษาสุขภาพช่องปากให้ดีขึ้น มาดูกันว่าควรดูแลอย่างไร
ฟันปลอมทำไมต้องดูแลฟันปลอมให้ดี
ฟันปลอมเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้คนไข้ที่สูญเสียฟันไปสามารถกลับมามีรอยยิ้มที่มั่นใจและเคี้ยวอาหารได้สะดวกขึ้น แต่หากดูแลไม่ดี อาจทำให้ฟันปลอมเสื่อมสภาพเร็วหรือเกิดปัญหาในช่องปาก เช่น การอักเสบของเหงือก หรือกลิ่นปากที่ไม่พึงประสงค์
วิธีทำความสะอาดฟันปลอมที่ถูกต้อง
การทำความสะอาดฟันปลอมเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยป้องกันการสะสมของคราบแบคทีเรียและหินปูน คนไข้ควรปฏิบัติดังนี้
- ล้างฟันปลอมด้วยน้ำสะอาดทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร
- ใช้แปรงขนนุ่มกับน้ำยาทำความสะอาดฟันปลอม แทนการใช้ยาสีฟันที่มีสารขัดถูแรง
- แช่ฟันปลอมในน้ำหรือน้ำยาสำหรับแช่ฟันปลอมก่อนนอน เพื่อป้องกันการแห้งและเปราะ
การเก็บรักษาฟันปลอมเมื่อไม่ได้ใช้งาน
ฟันปลอมควรถูกเก็บรักษาอย่างเหมาะสมเมื่อไม่ได้ใช้งานเพื่อป้องกันความเสียหายและลดการสะสมของเชื้อโรค
- หลีกเลี่ยงการวางฟันปลอมในที่แห้งหรือร้อนจัด เพราะอาจทำให้วัสดุเสียหาย
- ใช้ภาชนะปิดสนิทสำหรับแช่ฟันปลอม เพื่อป้องกันการตกหล่นหรือปนเปื้อน
ข้อควรระวังในการใช้ฟันปลอม
ฟันปลอมถึงแม้จะเป็นตัวช่วยที่ดี แต่หากใช้งานผิดวิธีอาจก่อให้เกิดปัญหาได้ ดังนั้นควรระวัง
- หลีกเลี่ยงการใช้ฟันปลอมกัดของแข็ง เช่น กระดูกหรือเมล็ดถั่วแข็ง
- หมั่นสังเกตอาการเจ็บหรือระคายเคืองในช่องปาก หากเกิดอาการผิดปกติควรรีบพบทันตแพทย์
- ไม่ควรใช้กาวติดฟันปลอมเองหากฟันปลอมเริ่มหลวม ควรให้ทันตแพทย์ปรับแก้ให้
วันก่อนหมอมีคนไข้ท่านหนึ่งมาปรึกษาเรื่องฟันปลอม หลุดระหว่างเคี้ยวหมูกรอบ เขาเล่าว่าเคี้ยวไปครึ่งชิ้น อยู่ดี ๆ ฟันปลอมก็หลุดลงจานข้าว หมอฟังแล้วก็อดขำไม่ได้ แต่ก็ต้องอธิบายว่าฟันปลอมที่หลวมเกิดจากการใช้งานไปนาน ๆ โดยไม่ได้เช็คสภาพให้ทันตแพทย์ดูแล หมอเลยช่วยปรับให้ใหม่ แถมแนะนำว่า คราวหน้าถ้าฟันปลอมเริ่มหลวมอีก ให้รีบมาหาหมอเลย อย่ารอให้มันหลุดกลางมื้ออาหารอีกครับ!
ความรู้วิชาการ
ผู้เขียน : ทันตแพทย์วิน หิริโอตัปปะ
เผยแพร่ : 18 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 16.06 น.
ปรับปรุง : 4 เมษายน 2568 เวลา 06.02 น.